เมนู

หลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่ง
วิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย
บ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย
บ้าง เพราะความเห็นชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งใจผิดเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
ฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบ
เป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะ
นั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.
จบทุติยวิหารสูตรที่ 2

อรรถกถาวิหารสูตร



พึงทราบวินิจฉัยวิหารสูตรที่ 2.
เหตุแห่งการหลีกเร้น พึงทราบโดยนัยอันท่านกล่าวแล้วนั่นแล. บท
ว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิวูปสมปจฺจยา ได้แก่ ความเห็นชอบ ชื่อว่า เข้าไปสงบซึ่ง
ความเห็นผิด. เพราะฉะนั้น เวทนาใดท่านกล่าวแล้ว เพราะความเห็นชอบ
เป็นปัจจัย. เวทนานั้นแล ท่านพึงทราบ เพราะสงบความเห็นผิดเป็นปัจจัย.
ส่วนในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ผู้สำคัญซึ่งเวทนาอันเป็นวิบาก ย่อมไม่ถือเอา
ในที่ไกลเกินไป. ในบททุกบท พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้. ก็เวทนาท่าน

เรียกว่า เพราะเข้าไปสงบธรรมใด ๆ เป็นปัจจัย. เวทนานั้น ๆ ท่านประสงค์
แล้ว เพราะเป็นธรรมอันตรงกันข้ามกับธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย. ส่วนในบท
เป็นอาทิว่า ฉนฺทวูปสมปจฺจยา พึงทราบเวทนาในปฐมฌานก่อน เพราะ
ฉันทะสงบเป็นปัจจัย. เวทนาในทุติยฌาน เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัย เวทนา
ในสัญญาสมาบัติ 6 เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัย. บทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ วูปสนฺโต มีเนื้อ
ความอันกล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถาวิหารสูตรที่ 2

3. เสขสูตร



องค์ 8 ของพระเสขะ


[51] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะ ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบ
ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ.
จบเสขสูตรที่ 3